Share

หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การเมืองของไพร่

คอลัมน์ รหัสหนังสือ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๐
โดย เด็กชายก้อง twitter @DekchildKong


"..แต่นับจากระบอบทักษิณมาจนถึงระบอบการเมืองสมานฉันท์หลังการรัฐประหาร 19 กันยาที่ผ่านมา เราล้วนถูกกระทำทางการเมืองโดยผู้มีอำนาจและผู้มีปัญญา (ถ้าไม่นับกระทำตัวเอง) ให้กลายเป็นไพร่ (Subject) ทั้งสิ้น.."
 


หากเอ่ยชื่อของ "พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์" แล้ว
    หลายๆคนที่ติดตามงานของสำนักพิมพ์ openbooks หรือเว็บไซต์โอเพ่นออนไลน์ www.onopen.com คงคุ้นหูอาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้นี้เป็นอย่างดี
    จากที่เคยรวมเล่มทัศนะทางการเมือง(ภาษาที่ อ.พิชญ์ใช้)ชิ้นแรกในชื่อ "เห็นถั่วงอกเป็นดอกบัว" ไปแล้วเมื่อมีนาคม 2548
    มาในปีนี้ อ.พิชญ์ได้ออกผลงานชิ้นที่สองออกมาเป็นหนังสือ "การเมืองของไพร่ : จากวิกฤตของระบอบทักษิณสู่การก่อรูปของระบอบการเมืองไทยหลังรัฐประหาร 2549"

    พิมพ์ครั้งแรกเมื่อมกราคม 2550 โดยสำนักพิมพ์ openbooks ความหนา 334 หน้า ราคา 215 บาท
    หนังสือเล่มนี้รวบรวมจากงานเขียนของ อ.พิชญ์ ซึ่งเขาได้บอกถึงหนังสือเล่มนี้ไว้ว่า "หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นถึงการก่อรูปความคิดที่นำไปสู่บทความขนาดยาว บทความที่รวบรวมมาในหนังสือ การเมืองของไพร่ นี้เป็นส่วนหนึ่งของบทความชิ้นเล็กๆ ที่ก่อตัวขึ้นเป็นบทความขนาดยาว"
    "สาระสำคัญของ การเมืองของไพร่ นั้น ต้องการสะท้อนให้เห็นว่า แม้ว่าความมุ่งหมายของการปฏิรูปการเมืองภายใต้ระบอบรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน 2540 จะต้องการให้เราเป็นพลเมืองที่กำหนดชะตาชีวิตของตัวเองได้ และตรวจสอบอำนาจรัฐในหลายรูปแบบ"
    "แต่นับจากระบอบทักษิณมาจนถึงระบอบการเมืองสมานฉันท์หลังการรัฐประหาร 19 กันยาที่ผ่านมา เราล้วนถูกกระทำทางการเมืองโดยผู้มีอำนาจและผู้มีปัญญา (ถ้าไม่นับกระทำตัวเอง) ให้กลายเป็นไพร่ (Subject) ทั้งสิ้น"
    "งานเขียน การเมืองของไพร่ จึงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งระบอบทักษิณ และระบอบสมานฉันท์"
    "การเมืองของไพร่" ประกอบด้วยชุดของบทความห้าชุด คือ ภาคหนึ่ง วิกฤตของระบอบทักษิณ ภาคที่สอง วิกฤตของการปฏิรูปการเมือง ภาคที่สาม การเมืองแบบพันธมิตร ภาคที่สี่ การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 และภาคที่ห้า วิกฤตของระบอบการเมืองแบบสมานฉันท์ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
    ตบลงด้วยการอธิบายถึง "การเมืองของพลเมือง" เป็นบทส่งท้ายในหนังสือเล่มนี้
    อ่านจบแล้ว อยากให้ประเทศไทยไปสู่สังคมที่มีการเมืองของพลเมือง มากกว่าสังคมที่มีการเมืองของไพร่ แบบที่เป็นอยู่เสียจริง..


........................... 

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More