Share

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา


คอลัมน์ รหัสหนังสือ หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๕๐
โดย เด็กชายก้อง twitter @DekchildKong

"..เขาเลือกบทความที่อยู่ในหัวข้อนี้มาจากงานเขียน ที่อาศัยแนวคิดทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งได้สำรวจวัฒนธรรมและความเคลื่อนไหวในสังคมร่วมสมัย.."

ภายหลังจากการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549
    มีนักวิชาการหลายคนแสดงความเห็นเกี่ยวกับการัฐประหารในครั้งนี้ ทั้งสนับสนุนและไม่เห็นด้วย
    "ประชาธิปไตยไม่ใช่ของเรา" เป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่ง ที่ออกมาหลังการรัฐประหาร
    เขียนโดย "ศิโรฒน์ คล้ามไพบูลย์" นักวิชาการอีกคนหนึ่ง ที่มีบทบาทในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมไทยในแง่มุมต่างๆ พิมพ์ครั้งแรก มกราคม 2550 โดยสำนักพิมพ์ openbook ความหนา 278 หน้า ราคา 185 บาท
    เป็นหนังสือที่รวบรวมบทความและคำให้สัมภาษณ์ของ "ศิโรฒน์" ที่เคยเผยแพร่ระหว่างปี 2547-2549 ซึ่งได้ปรับปรุงแก้ไขสำหรับการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มในครั้งนี้

    เนื้อหาแบ่งเป็น 3 ภาค
    ภาคหนึ่ง รัฐประหาร
    ความเห็นเกี่ยวกับการเมืองไทย ทั้งก่อนและหลังการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 อาทิ
    บทสัมภาษณ์ก่อนการรัฐประหาร ที่เขาให้หัวเรื่องว่า การเคลื่อนไหว 2549 "รัฐประหารของคนชั้นกลาง" และ การเมืองไทยในอนาคตอันใกล้
    บทสัมภาษณ์หลังการรัฐประหารเรื่อง 30 ปี 6 ตุลา ประชาธิปไตยแพ้แล้ว ? และ ประชาชนต้องต่อต้านรัฐประหาร ไม่ใช่ทำตัวเป็นขอทานจากระบอบเผด็จการ
    ภาคสอง ชาติ เชื้อชาติ และความรุนแรง
    ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
    เขาบอกไว้ในภาคนี้ว่า บทความกลุ่มนี้เขียนขึ้นบนฐานทางทฤษฎีที่ปฏิเสธการแบ่งแยกระหว่างกำลังและความรุนแรง รวมทั้งความเชื่อว่ารัฐมีความชอบธรรมที่จะปฏิบัติการรุนแรงโดยธรรมชาติ
 และเพ่งความสนใจไปยังเงื่อนไขทางตรรกะของรัฐประชาชาติไทยที่วางอยู่บนลำดับขั้นทางชาติพันธุ์ที่ไม่เท่าเทียม
    ภาคสาม วาทกรรมในวัฒนธรรม
    ศิโรฒน์เขียนในบทนำของภาคนี้ว่า เขาเลือกบทความที่อยู่ในหัวข้อนี้มาจากงานเขียน ที่อาศัยแนวคิดทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งได้สำรวจวัฒนธรรมและความเคลื่อนไหวในสังคมร่วมสมัย จึงมีหัวเรื่องที่หลากหลาย
    ในภาคนี้ ผู้อ่านจะได้เห็นการพูดถึงภาพยนตร์เรื่อง "แฟนฉัน" และ "องค์บาก" ผ่านมุมมองของนักวิชาการ
    ในภาพรวมของหนังสือเล่มนี้ กล่าวโดยอ้างถึงข้อเขียนของ "ศิโรฒน์" เองได้ว่า  แกนกลางของงานของเขาคือ การขบคิดถึงความรู้สึกนึกคิดและสามัญสำนึกทางการเมืองของผู้คนในสังคม
    และสนใจการเกิดขึ้นของการคิดอย่างมีความคิดรวบยอดต่อเรื่องต่างๆเหล่านั้น...

.........................

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More